การฝึกวินัยให้ลูก เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างให้กับพวกเขาได้ตั้งแต่ที่บ้าน โดยเริ่มต้นตั้งแต่เรื่องของวินัยพื้นฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการตรงต่อเวลา การกำหนดเวลาตื่นนอน กำหนดเวลากินอาหาร ไปจนถึงเวลาเข้านอน หรือแม้แต่หน้าที่ภายในบ้าน เช่น การให้ลูกเก็บจานข้าวไปล้างด้วยตัวเองทุกครั้ง รวมไปถึงการจัดเก็บสิ่งของที่ตัวเองนำออกมาเล่นหรือใช้งานกลับเข้าที่เดิมอย่างเป็นระเบียบ นอกจากนี้ อีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้ลูกๆ สามารถพัฒนาศักยภาพของตัวเองได้มากยิ่งขึ้นคือการฝึกวินัยให้ลูกเชิงบวก
การฝึกวินัยให้ลูก เริ่มต้นที่พ่อแม่
การฝึกวินัยให้ลูกเริ่มต้นง่ายๆ ที่พ่อแม่ อยากฝึกลูกให้มีวินัยควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็กๆ วัยประถมเป็นช่วงที่เหมาะสมในการให้ลูกเรียนรู้ เพราะจะสามารถเรียนรู้จดจำสิ่งต่างๆ พร้อมกับตัดสินใจต่างๆ ได้ด้วยตัวของตัวเอง ถ้าโตไปกว่านี้อาจจะไม่ทัน กลายเป็นวัยรุ่นที่ขาดวินัยในการใช้ชีวิต อย่างไรก็ตามการเสริมสร้างวินัย ควรอยู่บนความพอดีเหมาะสมกับตัวลูก ไม่ควรเข้มงวดจนเกินไปจนไปกรอบให้กับชีวิตเดี๋ยวจะไม่มีความสุข
ข้อดีการสร้างวินัยตั้งแต่เด็ก
การฝึกวินัยให้ลูก เสริมสร้างวินัยในเด็กจะช่วยให้ได้ใช้ชีวิตอย่างมีแบบแผน โตขึ้นกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อคนรอบข้าง และต่อสังคม การมีวินัยจะช่วยให้เค้ามีชีวิตที่เป็นระเบียบมากขึ้น รู้จักแก้ปัญหาวางแผนในการใช้ชีวิต
การเริ่มต้นฝึกวินัยให้ลูก
- การฝึกวินัยให้ลูก ทำการบ้านเองไม่ต้องเตือน
ฝึกลูกให้มีวินัย เริ่มจากเรื่องง่ายๆ ทั่วไป เช่น การรับผิดชอบงานของตนเอง งานที่ควรจะรับผิดช้ำได้ดีที่สุด นั่นก็คือ การบ้านจากที่โรงเรียนนั่นเอง หยิบการบ้านขึ้นมาทำเอง โดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องมาจี้ มาเตือน เป็นการรับผิดชอบตัวเองในขั้นต้น ที่คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ลูกเริ่มรับผิดชอบในการเสริมสร้างวินัย
- การฝึกวินัยให้ลูก ตื่นไปโรงเรียนด้วยตนเอง
อยาก ฝึกวินัยให้ลูก เรื่องง่ายๆ ที่ทำได้ทุกวันต่อมาคือ การตื่นโรงเรียนไปประจำทุกเช้า แม้การตื่นในตอนเช้า จะเป็นเรื่องยาก สำหรับเด็กๆ และก็เป็นเรื่องยากสำหรับผู้ใหญ่อย่างเราเช่นกัน แต่การฝึกให้เค้ามีความรับผิดชอบในตัวเองนั้น การตื่นไปโรงเรียนโดยที่พ่อแม่ไม่ต้องมาปลุก จะทำให้เค้าเข้าใจในที่สุดว่าการต่ื่นนอนนั้น หมายถึง การรับผิดชอบ การตื่นนอนตอนเช้าเป็นหน้าที่ ที่จะต้องตื่นไปโรงเรียน
- การฝึกวินัยให้ลูก รับผิดชอบงานบ้านได้
ไม่ใช่แค่การเรียน เรื่องส่วนตัวเท่านั้น ลองขยับความรับผิดชอบมาเป็นของส่วนรวมในบางส่วน อาจจะช่วยคุณแม่ทำงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ เริ่มจากการ กวาดบ้าน ทิ้งขยะ เป็นต้น การแสดงออกเท่านี้ก็นับเป็นสัญญาณที่ดีในการมีวินัย มีความรับผิดชอบในขั้นต่อๆ ไป
- การฝึกวินัยให้ลูก รักษาสัญญา เชื่อฟังคุณพ่อคุณแม่
การรักษาสัญญา รักษาคำพูดเป็นอีกวินัยหนึ่งที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าลูกของเราเริ่มรับผผิดชอบตัวเองได้ เนื่องจาก สัญญาต่างๆ ที่เด็ก ๆ รับปากคุณพ่อคุณแม่นั้น อาจจะเป็นแค่คำพูด จับต้องจริงๆ ไม่ได้ การรักษาสัญญาจึ้งจำเป็นต้องใช้ความพยายาม และวินัยในการกระทำต่างๆ เช่นเดียวกับการเชื่อฟังคุณพ่อคุณแม่ เป็นสัญญาณที่ดีว่า ลูกรู้จักว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ นั่นก็เท่ากับเค้ามีวินัยในตนเอง
- การฝึกวินัยให้ลูก เริ่มได้ด้วยพ่อแม่
คุณพ่อคุณแม่เป็นแบบอย่างที่ดีที่สุด เป็นไอดอลในใจของลูกๆ เพราะฉะนั้น การเริ่มสร้างวินัยให้ลูก คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นตัวอย่างในการมีวินัยให้กับลูก อยากให้น้องเรียนรู้อะไร จำอะไร เราต้องแสดงให้เค้าเห็นก่อน ให้รู้ว่าดีจริง เราเลยทำ ทำแล้วจะดีแบบที่เราดีนั่นเอง
การฝึกวินัยให้ลูกเชิงบวก
การฝึกวินัยให้ลูกเชิงบวก คือการจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้เด็กรู้จักเข้าใจและสามารถแยกแยะได้ว่าพฤติกรรมใดที่ควรทำ และพฤติกรรมใดควรหลีกเลี่ยง เพื่อให้เด็กเกิดการปรับพฤติกรรมไปในแนวทางที่ดีขึ้นและมีผลต่อเนื่องไปในอนาคต
10 วิธีการฝึกวินัยให้ลูกเชิงบวก
1. เป็นตัวอย่างที่ดีของลูก
คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มต้นจากตัวเองเพื่อเป็นแบบอย่างการฝึกวินัยให้ลูก เนื่องจากเด็กๆ มักจะเรียนรู้ผ่านการเลียนแบบพฤติกรรมจากคนใกล้ชิดโดยไม่รู้ตัว เด็กจะซึมซับพฤติกรรมและการแสดงออกจากคุณพ่อคุณแม่ ดังนั้น หากต้องการให้ลูกมีระเบียบวินัย จึงควรทำเป็นตัวอย่าง เช่น การตรงต่อเวลา การรับผิดชอบในหน้าที่ของตัวเองให้เสร็จสิ้น เป็นต้น
2. การสอนให้ชัดเจน
การฝึกวินัยให้ลูกเชิงบวก สิ่งสำคัญคือคำพูดต้องชัดเจนและเข้าใจง่าย ไม่ทำให้สับสน เช่น คำพูดลักษณะ “ห้าม ไม่ อย่า หยุด” สมองต้องประมวลผล 2 รอบ ดังนั้นถ้าอยากให้ลูกทำอะไร ให้บอกตรงๆ ไปที่พฤติกรรมหรือสิ่งที่อยากให้ทำ เช่น แทนที่จะบอกว่า “อย่าวิ่งนะลูก” ให้เปลี่ยนเป็น “ค่อยๆ เดินนะลูก”
3. ไม่บังคับให้เด็กทำ
การฝึกวินัยให้ลูกไม่ควรบังคับให้เด็กทำอย่างที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการ ควรปรับเปลี่ยนไปใช้การชักจูงและยอมรับให้ทำด้วยความเต็มใจ สำหรับเด็กในวัยประถมนั้น ควรใช้เหตุผลในการกระทำเป็นตัวชักจูงให้เด็กเกิดความสมัครใจที่จะทำเอง เช่น ชักจูงให้ลูกเก็บที่นอน สอนให้เห็นประโยชน์ของการเก็บที่นอนให้เข้าที่เพราะจะทำให้ที่นอนเป็นระเบียบ ดูสะอาดสะอ้าน และเป็นการเริ่มต้นวันด้วยกิจกรรมที่เป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นต้น
4. กำหนดเป้าหมายให้ชัด
ให้ทางเลือก 2 ทาง และต้องเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้ง 2 ทาง เพื่อนำไปสู่เป้าหมายเสมอ เช่น
- ลูกไม่ยอมกินผัก คุณพ่อคุณแม่ให้ทางเลือก คือ “หนูจะกิน 1 ชิ้น หรือ 2 ชิ้น” แทนที่จะพูดว่า “หนูจะกินหรือไม่กิน”
- ลูกไม่ยอมอาบน้ำ คุณพ่อคุณแม่ให้ทางเลือก คือ “หนูจะอาบเองหรือให้แม่อาบให้” แทนที่จะพูดว่า “หนูจะอาบหรือไม่อาบ” ซึ่งเมื่อเด็กเลือก “ไม่” พ่อแม่ก็มักไม่ยอม ทำให้เด็กสับสนว่าแล้วจะให้เลือกทำไม
5. การเบี่ยงเบนความสนใจของลูก
เด็กบางคนอาจจะยังมีความสนใจ หรือสมาธิค่อนข้างสั้น ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม สามารถใช้วิธีเบี่ยงเบนให้เด็กหันไปสนใจอย่างอื่นแทน เช่น หากลูกกำลังกวนคุณพ่อช่วงทำงาน ให้คุณแม่ชวนลูกไปทำอาหารด้วยกัน เพื่อเป็นการให้กำลังคุณพ่อหลังจากทำงานเสร็จ จะชวนสร้างความสัมพันธ์ที่ดีได้อีกด้วย
6. ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
การฝึกวินัยให้ลูกเชิงบวกเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อให้เด็กยอมรับและจดจำได้ ดังนั้นจึงควรใช้เวลา และความอดทนในการฝึกสอน ที่สำคัญคือการทำสิ่งนั้นให้เหมือนกันทุกครั้ง เช่น สอนลูกให้เก็บที่นอนหลังจากตื่นนอนทุกครั้ง เพื่อแสดงให้เห็นว่านี่คือสิ่งที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ หากคุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้ลูกทำบ้างเป็นครั้งคราว การจดจำและเรียนรู้อาจจะไม่ต่อเนื่องจนทำให้เด็กมองข้ามการฝึกฝนบางเรื่องไปได้
7. การชมเชยและความเชื่อมั่น
เริ่มต้นจากการชม โดยทำการชมให้เป็นเรื่องใหญ่ เมื่อลูกแสดงพฤติกรรมที่ดี โดยวิธีการชมที่มีคุณภาพ คือ คำชม + ระบุพฤติกรรมเจาะจง + ระบุคุณลักษณะที่อธิบายพฤติกรรมนั้น เช่น “ลูกเก่งมาก ลูกเก็บของเล่นเอง ลูกมีความรับผิดชอบมาก” เมื่อเกิดลักษณะการชมลูกจะรู้สึกว่าคุณแม่เชื่อมั่นและไว้ใจในตัวเขา เป็นหนึ่งในการฝึกวินัยให้ลูกเชิงบวก ที่ทำให้เด็กๆ ทำตามระเบียบวินัยอย่างเต็มใจ
8. กำหนดเวลาให้ชัดเจน
การตั้งเวลา ฝึกให้รู้จักการวางแผน เรียงลำดับความสำคัญอะไร ควรทำก่อน – หลัง กำหนดเงื่อนไขให้น่าสนใจ เช่น “ถ้าลูกทำการบ้านเสร็จแล้ว ไปเล่นได้” หรือ “ถ้าลูกเข้านอนเร็ว แม่จะทำเมนูของโปรดให้ตอนเช้า” ซึ่งจะค่อยๆ ฝึกฝนให้ลูกเห็นว่าทุกอย่างถ้าจัดลำดับได้ดี เขาสามารถทำในสิ่งที่ต้องการได้ทั้งหมด
9. เคารพความคิดเห็นของลูก
ไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ ทุกวัยย่อมมีความคิดเป็นของตัวเอง การเปิดใจรับฟังความคิดของพวกเขาจะทำให้พ่อแม่ได้รับความไว้วางใจจากลูกมากขึ้น เมื่อพ่อแม่รับฟังลูกอย่างเข้าใจ เด็กๆ ก็จะยอมรับสิ่งที่พ่อแม่สื่อสารกับเขาเช่นเดียวกัน
10. คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกไปในทิศทางเดียวกัน
การฝึกวินัยให้ลูกเชิงบวกให้ลูกนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรใจเย็น ควบคุมอารมณ์ และมีความหนักแน่น ที่สำคัญคือปฏิบัติตนไปในทิศทางเดียวกันอย่างเท่าเทียม เช่น เมื่อคนใดคนหนึ่งลงโทษลูก อีกคนไม่ควรใจอ่อนผ่อนปรนโทษนั้น เพราะจะทำให้เด็กไม่เกิดการเรียนรู้ และสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สอนมาทั้งหมดก็จะไม่เกิดผลแต่อย่างใด
ดังนั้นการฝึกวินัยให้ลูกจึงเป็นสิ่งสำคัญ และครอบครัวส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ‘การฝึกวินัยให้ลูกเชิงบวก’ ยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านความคิดและอารมณ์ ซึ่งจะส่งผลติดตัวมาจนถึงตอนโตอีกด้วย
ยังมีอะไรอีกหลายอย่างที่คุณแม่คุณพ่อสามารถเริ่มสอนวินัยให้กับลูกได้ สไตล์การสั่งสอนและอบรมลูกของแต่ละบ้านอาจแตกต่างกันไป การเพียรสอนให้ลูกมีระเบียบวินัยนั้นในทางกลับกันก็สามารถช่วยสอนคุณแม่คุณพ่อให้มีความใจเย็น มีความอดทนอดกลั้นได้มากขึ้น เด็กน้อยเหมือนผ้าขาว คิดอย่างไรก็แสดงออกมาอย่างนั้น การฝึกวินัยให้ลูกต้องใช้เวลาและความพยายาม
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็ก
- ลูกทะเลาะกัน ทำอย่างไรดี
- โรคภูมิแพ้ สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา
- การใช้กรรไกร สำหรับเด็ก ช่วยฝึกสมาธิและกล้ามเนื้อมือได้ดี
- สอนลูกทำงานบ้าน เสริมพัฒนาการที่สำคัญ
ที่มาของบทความ
- https://www.ondemand.in.th
- https://www.milo.co.th
- https://www.central.co.th
- https://www.istockphoto.com/488934484
- https://www.istockphoto.com/405561812
- https://www.istockphoto.com/246486451
ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับเด็กได้ที่ wallysracephotos.com
สนับสนุนโดย ufabet369